บทบาทและอำนาจหน้าที่ของโรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง |
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้สถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ โดยให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. บริหารกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับของทางราชการ และของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ
2. ประสานระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั่งควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่และทรัพย์สินอื่นของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ
3. เป็นผู้แทนของสถานศึกษาหรือส่วนราชการในกิจการทั่วไป รวมทั้งการจัดทำนิติกรรมสัญญาในราชการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการได้รับตามที่ได้รับมอบอำนาจ
4. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 10/2559 ข้อ 4 ให้เสนอต่อ กศจ.)
5. อำนาจหน้าที่ในการอนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
6. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งงานอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย นอกจากนี้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 ได้กำหนอดบทบาท และอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาไว้ ดังนี้
1. ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
2. ในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แทน ของนิติบุคคลสถานศึกษา
3. ให้สถานศึกษามีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้จัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศ ให้แก่สถานศึกษา เว้นแต่การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้สถานศึกษา ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ เมื่อจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้สถานศึกษารายงานให้ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบโดยเร็ว
4. ในกรณีที่จะต้องมีการจดทะเบียนสิทธิ ขึ้นทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนใดๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่ผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา ให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการทางทะเบียนดังกล่าวได้ ในนามนิติ บุคคลสถานศึกษา
5. ในกรณีนิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องคดี ให้สถานศึกษารายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ เพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดี โดยเร็ว
6. สถานศึกษาจะมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณในส่วนของที่ตั้งไว้สำหรับสถานศึกษา ตามที่ได้รับการกำหนดวงเงิน และได้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด ทั้งนี้ยกเว้นงบประมาณในหมวดเงินเดือน
7. สถานศึกษาจะมีอิสระในการบริหารจัดการพัสดุในส่วนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบหรืออยู่ใน วงเงินงบประมาณที่ได้รับมอบหมายตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในข้อ 6 ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
8. การรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กาสถานศึกษา ให้สถานศึกษารับบริจาคตามที่ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการและตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
9. การบริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินและการบัญชีของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศกำหนด
10. ให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินและสินทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้ ตามข้อ ๔ ไว้เป็น หลักฐาน และสรุปรายการบัญชีทรัพย์สินดังกล่าว รายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ สถานศึกษานั้นสังกัดทราบ ทุกสิ้นปีงบประมาณ
11. การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแกไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545
2. พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 38 (กรรมการสถานศึกษา) มาตรา 39 (อำนาจหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา)
3. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2547 (ออกตาม ม.34 วรรคสี่ ของ พรบ.บริหาร ศธ.)
4. กฎกระทรวงกำหนดหลักกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา (ออกตามม.39 วรรคสอง พรบ.กศ แห่งชาติ 2542)
5. ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 (ออกตาม ม.35 พรบ.บริหาร ศธ.)
6. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการสรรหากรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน พ.ศ. 2546
7. ระเบียบ กฎหมายอื่นๆ
บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ
1) จัดรูปแบบการศึกษา ม.15
2) จัดกระบวนการศึกษา ม. 24-30
3) บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน ม. 39
4) เบีนคณะกรรมการสถานศึกษา ม. 40
5) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ม. 48-50
6) ปกครองดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ ม. 59
1.7) พัฒนาบุคลากร นักเรียนต้านเทคโนโลยีๆ ม. 65-66
2. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
1) ผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียน ม.6
2) เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่
3) จัดการศึกษาเต็กบกพร่อง พิการ ต้อยโอกาสในรูปแบบเหมาะสม ม.12
4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามกฎหมายกำหนด
3. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 (ม.39)
1) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และ บุคลากรในสถานศึกษา
2) บริหารกิจการสถานศึกษา
3) ประสานระดมทรัพยากร
4) เป็นผู้แทนสถานศึกษา
5) จัดทำรายงานประจำปีต่อ กก.เขตพื้นที่
6) อนุมัติประกาศนิยบัตร วุฒิบัตร
7) อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย
8) ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอำนาจ(ปฏิบัติราชการแทน) ม.44-45 ปลัดศธ. เลขาฯ ถึง ผอ. สถานศึกษา ผอ.สำนักฯในกรม ถึง ผอ.สถานศึกษา ผอ.ลพท. ถึง ผอ.สถานศึกษา
4. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎ ศธ. แบ่งส่วนรายการในสถานศึกษา 2546
1) วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย แผนสถานศึกษา
2) วางระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ
3) เสนอขอจัดตั้งเงินอุดหนุนทั่วไป
4) แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ
5. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.รบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
1) ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล ม.27(1)
2) พิจารณาความดีความชอบ ม.27(2)
3) ส่งเสริมสนับสถาบันพัฒนาบุคลากร ม.27(3)
4) จัดทำมาตรฐานภาระงานครู ม.27(4)
5) ประเมินผลการปฏิบัติงานครู ม.27(5)
6) ปฏิบัติหน้าที่ตาม อ.ก.ค.ศ. กก.รร.มอบหมาย ม.27(6)
7) สั่งให้ครูฯออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติ ม.49
8) สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครู บุคลากร ม.53(4)
9) สั่งครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก ม.56 วรรคสอง
10) สั่งให้ครูพ้นทดลองทำงานต่อไป ม.56 วรรคสอง
11) สั่งครูที่ออกไปแล้วกลับเช้ามาตาม มติ อ.ก.ค.ศ ม.64
12) สั่งให้ครูรักษาการในตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) ม.68
13) สั่งเลื่อนชั้นเงินเดือนช้าราชการครู ม.73
14) ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น ม.75
15) แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ ระเบียบแบบแผนฯ ม.8
16) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ม.79
17) ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน ม.81
18) รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ม.82
19) เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ม.95 98
19) เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ม.95 98
20) อนุญาต ยับยั้งอนุญาตลาออก ม.108
21 ) สั่งแต่งตั้ง กรรมการสอบสวนกรณีกล่าวหาไม่เสื่อมใสปกครองฯ ม.110 (4)
22) สั่งให้ครูออกจากราชการ ในกรณีต่าง ๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบตำแหน่ง ไร้ประสิทธิภาพ จำคุก
6. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น
1) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ. 2548
2) กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา
3) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548
4) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและจันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
5) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547
6) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งซื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
7) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547
8) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแกไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547
9) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ 2547
10) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการยกเลิกเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534 พ.ศ. 2547
11) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมๆ(ฉ.2) พ.ศ. 2547
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. อำนาจหน้าที่ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตราที่ 38 ชองพระราชบัญญัติ ระเปียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดอำนาจหน้าที่ซองคณะกรรมกรสถานศึกษา ให้กำกับและ ส่งเสริมสนับสนุนกิจการซองสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับ มาตรา 40 ซองพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแกไซเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 2.อำนาจหน้าที่ตาม พรบ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา มาตราที่ 26 ชองพระราชบัญญัติระเปียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ ชองคณะกรรมการสถานศึกษา เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาใน สถานศึกษา ดังต่อไปนี้
1) กำกับ ดูแลบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. กศจ. และเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
2) เสนอความคิดเห็น ความต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งชองข้าราชการครูและบุคลากรทาง ศึกษาในสถานศึกษาเพื่อเสนอ เขตพื้นที่การศึกษาและ กศจ.พิจารณา
3) ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลชองข้าราชการครูและบุคากรทางการศึกษาใน สถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไรในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ.และหรือ กศจ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย